ดูแลเครนเบื้องต้น เพื่อการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้นนั้น สามารถทำยังไงได้บ้าง มาดูกัน !!

เครน (Crane) ที่มีรอกใช้งานร่วม เป็นเครื่องจักรสำคัญในงานอุตสาหกรรม เนื่องจากเครนเป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ด้วยการใช้งานเครนที่ค่อนข้างหนักในแต่ละครั้ง เครนจึงเป็นเครื่องจักรที่เกิดการสึกหรอได้ง่ายกว่าปกติ และยิ่งไม่ทำการดูแลรักษาเครนอย่างถูกวิธี เมื่อนำไปใช้งานก็อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน และเพิ่มอายุการใช้งานของเครนให้มากขึ้นกว่าเดิม ออนวัลล่าจะมาแนะนำวิธีดูแลเครนให้แข็งแรงทนทาน สามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

วิธีดูแลเครนเบื้องต้น เพื่อการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น

  • การตรวจสอบสภาพ ผู้ใช้งานควรตรวจสอบสภาพของเครนก่อนการใช้งานเป็นประจำทุกวัน นั่นคือ การตรวจสภาพด้วยสายตา การทดสอบฟังก์ชั่นเพื่อฟังเสียงการทำงาน และการทดสอบการเคลื่อนที่ หากพบความผิดปกติควรทำการแก้ไขซ่อมบำรุงให้มีความสมบูรณ์ปลอดภัยอยู่เสมอ
  • การวัดค่าและบันทึกผล ผู้ใช้งานควรสังเกตสภาพอุปกรณ์ตามวาระเพื่อติดตามค่าความเปลี่ยนแปลงในส่วนที่สึกหรอได้ง่าน เช่น ลวดสลิง ข้อโซ๋ ผ้าเบรก ล้อขับเครน รางเครน เป็นต้น
  • การตรวจสภาพและเติมสารหล่อลื่นประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของเครนส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับการหล่อลื่น และวิธีบำรุงให้เครนนั้นหล่อลื่นอยู่เสมอ โดยประเภทของสารหล่อลื่นจะมีทั้งจาระบีและน้ำมันหล่อลื่นตามที่คู่มือผู้ผลิตกำหนด ซึ่งควรที่จะทำการชโลมสารหล่อลื่นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมกับตรวจสอบและเติมน้ำมันหล่อลื่นอยู่เสมอ
  • เมื่อเราทำการตรวจสภาพส่วนประกอบต่างๆ ที่อยู่ในเครนแล้วพบว่าเกิดการชำรุดเสียหาย ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วน ไม่ว่าส่วนที่ชำรุดเสียหายจะเล็กหรือใหญ่ เพราะการใช้งานเครนที่มีชิ้นส่วนเครื่องกลเสียหายเพียงแค่นิดเดียว นอกจากจะทำให้อายุการใช้งานเครนลดลง อาจจะนำไปสู่การสูญเสียที่ร้ายแรงได้

ส่วนประกอบของเครนที่ควรตรวจสอบการชำรุดเสียหาย มีดังนี้

  • มอเตอร์ขึ้น-ลง รอบช้าและรอบเร็ว
  • มอเตอร์ซ้าย-ขวา (ตามขวาง) รอบช้าและรอบเร็ว
  • มอเตอร์หน้า-หลัง (ตามยาว) รอบช้าและรอบเร็ว
  • การทำงานของเบรกในขณะที่ยกขึ้นหรือยกลง
  • การทำงานของเบรกตามยาวและตามขวาง
  • ชุดล้อของระบบขับเคลื่อนตามยาวและตามขวาง
  • ลิมิตสวิตช์ขึ้น-ลง ควรทดสอบว่ามีการตัดการทำงาน
  • ลิมิตสวิตช์ซ้าย-ขวา ควรทดสอบว่ามีการตัดการทำงาน
  • ลิมิตสวิตช์หน้า-หลัง ควรทดสอบว่ามีการตัดการทำงาน
  • กันชนและลูกยางกันชนที่ปลายรางตามยาวและตามขวาง
  • ชุดตะขอและเซฟตี้แลทป้องกันการเลื่อนหลุดจากตะขอ
  • พูเลย์ทดสลิง ดรัมสลิง ไกด์นำสลิง และลวดสลิง
  • ชุดลำเลียงโซ่ เบ้าหมุนโซ่ ไกด์นำโซ่ โซ่ แบะถุงโซ่
  • ระบบสัญญาณเติอน ได้แก่ แสงและเสียงเตือน
  • ระบบป้องกัน ได้แก่ ตัวตัดการทำงานเมื่อยกน้ำหนักเกิน 
  • ระบบควบคุม ได้แก่ รีโมทคอนโทรลแบบไร้สาย สวิตช์คอนโทรลแบบมีสาย [Pendant]
  • ระบบควบคุมไฟฟ้า ได้แก่ ระบบรางไฟของเครนตามยาวและตามขวาง ระบบตู้ไฟและสายไฟพร้อมอุปกรณ์

 

การดูแลรักษาเครนให้อยู่ในสภาพปกติพร้อมใช้งาน นอกจากจะช่วยให้เครนมีอายุการใช้งานที่นานแล้ว ยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน และยังช่วยป้องกันไม่ให้งานหยุดชะงักจากเครนที่ชำรุดอีกด้วย

 

𝗢𝗻𝘃𝗮𝗹𝗹𝗮 𝗖𝗼𝗺𝗽𝗮𝗻𝘆 𝗟𝗶𝗺𝗶𝘁𝗲𝗱
https://lin.ee/CkFARkM
02-193 5380-5
088-874 7380

 

#ONVALLA#overheadcrane#crane#เครนอุตสาหกรรม#เครนโรงงาน#ซ่อมเครน#อะไหล่เครน#ABUS#ติดตั้งเครน#รอกABUS#รอกสลิง#รอกไฟฟ้า#รอกสลิงไฟฟ้า#รอกโซ่ไฟฟ้า#ซ่อมรอก#ขายรอก#อะไหล่รอก