Knowledge
ปจ. คืออะไร แล้ว ปจ.1 ปจ.2 แตกต่างกันอย่างไร
โรงงานหรือสถานประกอบการต่างๆ มักจะมีการใช้เครื่องจักรเป็นเครื่องทุ่นแรง นอกจากช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของคนลงได้แล้ว ยังช่วยลดเวลาทำงาน ช่วยประหยัดต้นทุนและมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้แรงงานคนด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ “ปั้นจั่น” เชื่อว่าหลายๆ คนได้ยินคำนี้กันบ่อย แต่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว ปั้นจั่น คืออะไร ปจ.1 ปจ.2 เกี่ยวข้องอะไรกับปั้นจั่น
ปั้นจั่น หรือ เครน คือ เครื่องจักรกลที่ใช้สำหรับยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ มีอักษรย่อ คือ ปจ. ส่วนสาเหตุที่เพิ่มคำเรียกว่าปั้นจั่นนั้น เพราะในทางกฎหมายไทย ไม่สามารถใช้คำทัพศัพท์ว่า เครน ได้นั่นเอง
ตามกฎหมายปั้นจั่นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (ปจ.1) และปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (ปจ.2)
1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (ปจ.1) ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว โดยปั้นจั่นชนิดนี้มักติดตั้งอยู่บนหอสูง บนล้อเลื่อน หรือขาตั้ง ยกตัวอย่างเช่น โมบายเครน รถเฮี๊ยบติดเครนและอื่นๆ ที่คล้ายกันสามารถเคลื่อนที่ได้
2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หรือ (ปจ.2) ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่นั้นจะติดอยู่บนพาหนะที่สามารถขับเคลื่อนได้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ทาวเวอร์เครน รอกยกสิ่งของ ลิฟต์ขนส่ง เป็นต้น
น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครน หรือปั้นจั่นตามกฎหมาย
ตามกฎหมายแล้วต้องมีการตรวจสอบปั้นจั่นและทดสอบการรับน้ำหนักของปั้นจั่น ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบปั้นจั่น ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำปี อัปเดตล่าสุด พ.ศ. 2564 โดยกฎหมายได้กำหนดการทดสอบพิกัดการยก ให้ดำเนินการโดยวิศวกรเครื่องกลมืออาชีพ สำหรับน้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบเครนหรือปั้นจั่น ตามกฎหมาย มีดังต่อไปนี้
- ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว ให้ทำการทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงมากที่สุด แต่ต้องไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยเป็นไปตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ กรณีที่ปั้นจั่นใช้งานแล้ว แต่ไม่มีพิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตได้กำหนด ให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดยกในการทดสอบแทน
- ปั้นจั่นใหม่
- ทดสอบพิกัดการยกปั้นจั่นใหม่ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 1.5 เท่า
- ทดสอบพิกัดการยกปั้นจั่นใหม่ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดการยกอย่างปลอดภัย
นอกจากนั้นกฎหมายยังได้ระบุความถี่ในการตรวจสอบปั้นจั่นไว้ดังนี้
ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง
- พิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบทุก 6 เดือน
- พิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดมากกว่า 3 ตัน ให้ตรวจสอบทุก 3 เดือน
ปั้นจั่นที่ใช้ในงานประเภทอื่น
- พิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ตั้งแต่ 1 ตัน ไม่เกิน 3 ตันให้ทดสอบทุก 1 ปี
- พิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดมากกว่า 3 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตันให้ทดสอบทุก 6 เดือน
- พิกัดยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดมากกว่า 50 ตันขึ้นไปให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน
นอกจากนั้นแล้วปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือมีการซ่อมแซม เพื่อความปลอดภัยให้ตรวจสอบใหม่ก่อนนำกลับมาใช้งานทุกครั้ง